พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระปิดตาเนื้อตะ...
พระปิดตาเนื้อตะกั่ว พิมพ์นั่งยอง หลวงปู่บัว วัดรวก
พระปิดตาเนื้อตะกั่ว พิมพ์นั่งยอง หลวงปู่บัว วัดรวก
เนื้อชินตะกั่วเก่าจัด สีคล้ำ ตามซอกๆทั้งด้านหน้า-หลัง มีคราบน้ำว่านแห้งๆที่ถูกคลุมด้วยคราบฝุ่นความเก่า ผิวก็มีคราบไขตะกั่วขึ้นไปทั่วทั้งองค์ บ่งบอกถึงอายุของพระที่มีความเก่าถึง ๑๕๐ กว่าปี และยังมีรอยถักลวดเก่ามาแต่โบราณ ทั้งหมดนี้ทำให้พระดูสวยซึ้งมาก
ตำนานพระปิดตาวัดรวกนั้น ต้องย้อนกลับไปในสมัยพระครูดำยังเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ในช่วงเวลานั้นวัดรวกอยู่ในสภาพรกร้างทรุดโทรม พระครูดำท่านเป็นสหธรรมมิกกับท่านสมภารบัว วัดบางหัวเสือ ด้วยมีพื้นเพเป็นคนแปดริ้วบ้านเดียว กัน ท่านจึงนิมนต์หลวงปู่บัวให้มาช่วยสร้างเสนาสนะ หลวงปู่บัวท่านจึงเดินทางมาจำพรรษาที่วัดรวกช่วงเวลาหนึ่ง ราวปี พ.ศ.๒๓๙๐ เศษๆ ท่านได้เทหล่อพระปิดตาพิมพ์นั่งยองขึ้นมา เป็นพระเนื้อตะกั่วผสมปรอทแบบพระปิดตามหาอุด เมื่อเทเสร็จได้แจกให้แก่ชาวบ้านผู้มาทำบุญ และอีกส่วนหนึ่งได้นำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดรวก
ช่วงสงครามอินโดจีน ราวปี พ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๘๕ พระเจดีย์เก่าของวัดรวกก็พังทลายลงหลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ พระเครื่องที่บรรจุไว้ภายในจึงแตกออกมา หลวงพ่อสายซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ท่านได้เก็บรวบรวมไว้ และนำออกแจกจ่ายให้แก่ทหาร และตำรวจที่ไปออกรบสู้ศึกคราวนั้น ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับแจกพระปิดตาวัดรวกต่างก็แคล้วคลาดปลอดภัยกันทุกคน
พระปิดตาที่ท่านสร้างนั้น ว่ากันว่ามีมากกว่า ๔๐-๕๐ พิมพ์ ในแต่ละพิมพ์สร้างจำนวนน้อยแค่เพียงหลักสิบ เรียกว่ามากพิมพ์แต่น้อยจำนวน สามารถแยกออกตามลักษณะได้ ๒ หมวดพิมพ์ใหญ่ๆ คือ
พิมพ์นั่งยอง
พิมพ์กระปุกตังฉ่าย
ซึ่งในแต่ละหมวดพิมพ์ก็ยังแยกย่อยไปอีกนับสิบพิมพ์ แต่ถ้าเรียกโดยรวมแล้วก็เรียกว่า “พระปิดตานั่งยองหลวงปู่บัววัดรวก” พระของหลวงปู่บัวหากนับอายุการสร้างจนถึงปัจจุบันก็ไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ปีเข้าไปแล้ว
พุทธคุณ ด้านคงกะพันและแคล้วคลาด มีประสบการณ์มากมายมาช้านาน
ประวัติหลวงปู่บัว
วัดบางหัวเสือ ได้สร้างขึ้นมาประมาณรัชสมัย รัชกาลที่๒ ประมาณปี พ.ศ.๒๓๗๐ เนื่องจากสันนิฐานได้ว่าหลวงพ่อบัว เป็นองค์ปฐม เป็นเจ้าอธิการองค์แรก และเป็นพระอุปัชฌาย์องค์แรก ซึ่งท่านเกิดประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๕๘ ซึ่งอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ขึ้นครองราชย์ใน วันที่ ๗ กันยายน ๒๓๕๒ ชื่อวัดเดิมตามหลักฐาน ชื่อวัดบางศีศะเสือ แล้วในรัชสมัย รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดให้มีการสังคยานา ปรับเปลี่ยนชื่อวัดต่างๆให้สอดคล้องกับ ภาษา สระ วรรณยุกต์ จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ วัด บางหัวเสือ แทนจนถึงปัจจุบัน
เจ้าอาวาสรูปที่ ๑ หลวงพ่อบัว (เกิดใน ร.๒-ร.๕) ตามประวัติเดิม สันนิษฐานว่า หลวงพ่อบัว ท่านเป็น น้องชาย หลวงปู่จีน วัดท่าราษเหนือ ฉะเชิงเทรา ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่จีน ทราบจากการเล่าสืบต่อกันมาจากผู้ที่เกิดทันได้พบหลวงปู่จีน สันนิษฐานว่าท่านเกิดในราวปี พ.ศ.๒๓๕๗ และเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาดในราวปี พ.ศ.๒๓๙๗ ท่านเป็นพระเกจิผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระและพุทธาคมเป็นพิเศษ รวมทั้งวิชาการแพทย์แผนโบราณ และมีเมตตาธรรมสูง ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านทั้งเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยและเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจต่างๆ จนเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเมืองแปดริ้วและใกล้เคียง ต่อมากิตติศัพท์ของท่านเริ่มขจรไกล มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านมรณภาพในราวปี พ.ศ.๒๔๔๐ สิริอายุ ๘๓ ปี
ท่านทั้ง ๒ ได้แยกกันธุดงค์ หลวงพ่อบัวมากับหลวงพ่ออ้นและได้มาจำวัดที่ วัดบางศีศะเสือ และได้รับอาราธนาเป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา จนถึงราวปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๘ หลวงพ่อพิน ได้เป็นเจ้าอธิการ และอุปัชฌาย์ในเวลาต่อมา หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือ บาญชีพระสงฆ์เล่ม ๑ วัดบางหัวเสือ ที่ได้คัดลอกในสมัยหลวงพ่ออยู่ โดยพระอาจารย์ คำ ได้บันทึกไว้ว่า ได้อุปสมบทหลวงพ่อพิน โดยมี
ท่านช้างวัดโปรดเกษเชฎฐาราม เป็น พระอุปัชฌาย์จารย์
หลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ(ฉะเชิงเทรา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลวงปู่บัว วัดบางศีศะเสือ(วัดบางหัวเสือ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
จึงสันนิษฐานว่าหลวงพ่อบัว อ่อนพรรษากว่า หลวงปู่จีน จึงได้ลงไว้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เพราะฉะนั้นท่านจึงต้องเกิด และ บวชหลังหลวงปู่จีน ซึ่งหลวงปู่จีนท่านได้มีประวัติว่า หลวงปู่จีนท่านเกิดในราวปี พ.ศ.๒๓๕๗ และมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ อายุราว ๘๓ ปี
อ้างอิงจากบทความในหนังสือ พระปิดตานั่งยองเมืองปากน้ำ โดย เก่ง ศ.ตระกูล
"เมื่อพระอธิการอ้น เจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่บัวถึงกาลมรณภาพ หลวงพ่อพินได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ของวัดบางหัวเสือ"และประวัติหลวงพ่อเที่ยงในตอนที่กล่าวว่า "เมื่อหลวงพ่อเที่ยงบวชได้พรรษา ๓ หลวงปู่บัวท่านก็ถึงกาลมรณภาพ ราว ปี พ.ศ. ๒๔๓๕”
สันนิษฐานว่า หลวงพ่อ บัว เกิดปีพ.ศ.๒๓๕๘ มรณะราวปีพ.ศ.๒๔๓๕ นับจาก พ.ศ.เกิด ท่านจะบวชราวปี ๒๓๗๘ และตามกฎแต่งตั้งเจ้าอาวาส ท่านต้องมีพรรษา๑๐ จึงเป็นเจ้าอาวาสและอุปัชฌาย์ได้ จึงเป็นไปได้ว่าท่านเดินทางมาเป็นเจ้าอาวาสในราวปีพ.ศ. ๒๓๘๘ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับช่วงที่หลวงปู่จีนได้เป็นเจ้าอธิการวัดลาดเหนือในราวปี พ.ศ.๒๓๙๗ และได้ติดต่อกันอยู่จนได้มาร่วมกัน อุปสมบทให้หลวงพ่อ พิน ที่วัดโปรดเกษเชฎฐาราม ในปี พ.ศ.๒๓๘๓ ซึ่งในปีนั้นหลวงพ่อบัว และ หลวงปู่จีน ยังไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์จึงไม่ได้บวชให้เอง สิริรวมอายุหลวงพ่อบัวตามประวัติ ท่านมีอายุในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๕๘-๒๔๓๕ ท่านจึงมีอายุอยู่ในราว ๗๗ ปี
เอกลักษณ์ที่โดดเด่น หลวงพ่อบัว ท่านมีรูปหล่อลงรักปิดทองอยู่แต่เดิมมานานแล้ว แต่ถ้าได้สัมผัส หรือ ลูบทองออกจากองค์ท่าน จะเห็นลวดลายจีวรลายดอกพิกุล เรียงอยู่อย่างสวยงาม พร้อมทั้งประคตเอวของท่านก็เป็นลวดลายเช่นกัน ซึ่งจีวรแบบประณีตเช่นนี้ใช้กันใน วังหลวง หรือ วัดหลวง อย่างแพร่หลายในต้นรัชกาล อย่างเช่น
เล่าเรื่อง"จีวรลายดอกพิกุล"
ในภาพคือ พระวินัยกิจการีเถร(ปั้น พรฺหมฺสโร) เจ้าอาวาสวัดรัชฎาธิษฐานวรวิหาร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ครองจีวรดอกพิกุล...
สำหรับความเป็นมาของจีวรลายดอกพิกุลนั้น ช่างต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ทำเลียนแบบผ้าฝรั่ง ทอเป็นดอกเล็กๆลายๆคล้ายดอกพิกุล ชาวบ้านจึงเห็นเป็นของแปลก ประณีต มีราคาสูงค่า ต่อมาผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้ตัดย้อมเป็นจีวรถวายพระเถระ ซึ่งจีวรลายดอกพิกุลนี้ สมเด็จพระสังฆราชสุก(ร.๑-ร.๔) พระองค์ท่านก็เคยใช้ เสียด้ายจีวรผืนนั้นได้ตัดออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ผู้เขียนเลยไม่นำมาลงในตอนนี้ สำหรับผ้าลายดอกพิกุลนั้น ถ้าถามว่าผิดวินัยไหม? ตอบว่า"ไม่ผิดครับ" แต่ถ้าเป็นดอกทองกวาว ถึงจะผิด..? แต่นั่น ก็เป็นเพียง"เรื่องเล่า"กันมาเท่านั้น แต่ก็ยังหาได้เคยพบพาน"ผ้าลายดอก"ของจริง ซึ่งเป็นปฐมกำเนิดของ"จีวรดอก"แต่อย่างไรเลย
จนกระทั่ง เมื่อครั้งที่ได้รับมอบ"ชายจีวร" ของ"สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร"ซึ่งเป็นพระบรมราชอุปัชฌายาจารย์แห่งรัชกาลที่ ๑- รัชกาลที่ ๔ และเจ้านายชั้นสูงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ "พุทธวงศ์ จึงได้แจ้งใจสิ้นเชิงทุกประการ.......
จากบันทึกประวัติศาสตร์ข้างต้นเป็นหลักฐานสำคัญ ว่าท่านมาจากวัดหลวง หรืออาจเป็นผู้ที่มียศฐานบรรดาศักดิ์ในพระนคร จึงได้รับผ้าจีวรลายดอกพิกุลนี้ติดตัวมาจนได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางหัวเสือ ถือเป็นมงคลยิ่งที่ ได้เห็น ได้สัมผัส ได้รับรู้ ได้พบผู้มีบุญญาธิการ เป็นองค์ปฐมเจ้าอธิการ ในอาวาสวัดบางหัวเสือ.
วัตถุมงคล ท่านได้สร้างพระปิดตามหาอุดไว้มากมายหลายรุ่น และถ่ายทอดวิชาพุทธคมต่างๆให้แก่ หลวงพ่อพิน ศิษย์เอก และหลวงพ่ออยู่ หลวงพ่อเที่ยง ตามลำดับ
(ขอขอบคุณศิษย์สายตรง)
ผู้เข้าชม
8834 ครั้ง
ราคา
30,000
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
phermsak
ชื่อร้าน
Aom Donjedee อ้อมดอนเจดีย์ , คุ้มริมชะเมา
ร้านค้า
phermsak.99wat.com
โทรศัพท์
0952594194
ไอดีไลน์
อ้อม ดอนเจดีย์
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
172-0-503xx-x
พระสังกัจจายน์โสฬสมหาพรหม สร้า
ปิดตาจัมโบ้ ลพ-จืด จ-นครปฐม
พระมเหศวร หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว
พระกริ่งชินบัญชร ก้นเงิน ตอก
พระยอดขุนพล กรุเตาทุเรียง พิมพ
พระขุนแผนหลวงพ่อตัด วัดชายนา จ
พระขุนแผนผงพรายกุมาร พิมพ์ใหญ่
พระเนื้อชินเงิน อ-เพ้ง หน้าวัด
เหรียญฉลุ รุ่น 8 รอบ เนื้อนวโล
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
vanglanna
chaithawat
KhunNineBanKham
ชา พูนสิน
ponsrithong2
บ้านพระหลักร้อย
โจ๊ก ป่าแดง
บ้านพระสมเด็จ
อ้วน สุรินทร์
Muthita
โก้ สมุทรปราการ
พรคุณพระ99
เปียโน
หมอเสกโคราช
ทองบ้านใน
เจริญสุข
Kittipan
ภูมิ IR
นานา
tangmo
พีพีพระเครื่อง
อี๋ ล็อคเกต
หมี คุณพระช่วย
stp253
Mr.tom0507
อ้วนโนนสูง
hra7215
เสือรากไทร
Popgomes
แมวดำ99
ผู้เข้าชมขณะนี้ 946 คน
เพิ่มข้อมูล
พระปิดตาเนื้อตะกั่ว พิมพ์นั่งยอง หลวงปู่บัว วัดรวก
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระปิดตาเนื้อตะกั่ว พิมพ์นั่งยอง หลวงปู่บัว วัดรวก
รายละเอียด
พระปิดตาเนื้อตะกั่ว พิมพ์นั่งยอง หลวงปู่บัว วัดรวก
เนื้อชินตะกั่วเก่าจัด สีคล้ำ ตามซอกๆทั้งด้านหน้า-หลัง มีคราบน้ำว่านแห้งๆที่ถูกคลุมด้วยคราบฝุ่นความเก่า ผิวก็มีคราบไขตะกั่วขึ้นไปทั่วทั้งองค์ บ่งบอกถึงอายุของพระที่มีความเก่าถึง ๑๕๐ กว่าปี และยังมีรอยถักลวดเก่ามาแต่โบราณ ทั้งหมดนี้ทำให้พระดูสวยซึ้งมาก
ตำนานพระปิดตาวัดรวกนั้น ต้องย้อนกลับไปในสมัยพระครูดำยังเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ในช่วงเวลานั้นวัดรวกอยู่ในสภาพรกร้างทรุดโทรม พระครูดำท่านเป็นสหธรรมมิกกับท่านสมภารบัว วัดบางหัวเสือ ด้วยมีพื้นเพเป็นคนแปดริ้วบ้านเดียว กัน ท่านจึงนิมนต์หลวงปู่บัวให้มาช่วยสร้างเสนาสนะ หลวงปู่บัวท่านจึงเดินทางมาจำพรรษาที่วัดรวกช่วงเวลาหนึ่ง ราวปี พ.ศ.๒๓๙๐ เศษๆ ท่านได้เทหล่อพระปิดตาพิมพ์นั่งยองขึ้นมา เป็นพระเนื้อตะกั่วผสมปรอทแบบพระปิดตามหาอุด เมื่อเทเสร็จได้แจกให้แก่ชาวบ้านผู้มาทำบุญ และอีกส่วนหนึ่งได้นำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดรวก
ช่วงสงครามอินโดจีน ราวปี พ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๘๕ พระเจดีย์เก่าของวัดรวกก็พังทลายลงหลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ พระเครื่องที่บรรจุไว้ภายในจึงแตกออกมา หลวงพ่อสายซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ท่านได้เก็บรวบรวมไว้ และนำออกแจกจ่ายให้แก่ทหาร และตำรวจที่ไปออกรบสู้ศึกคราวนั้น ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับแจกพระปิดตาวัดรวกต่างก็แคล้วคลาดปลอดภัยกันทุกคน
พระปิดตาที่ท่านสร้างนั้น ว่ากันว่ามีมากกว่า ๔๐-๕๐ พิมพ์ ในแต่ละพิมพ์สร้างจำนวนน้อยแค่เพียงหลักสิบ เรียกว่ามากพิมพ์แต่น้อยจำนวน สามารถแยกออกตามลักษณะได้ ๒ หมวดพิมพ์ใหญ่ๆ คือ
พิมพ์นั่งยอง
พิมพ์กระปุกตังฉ่าย
ซึ่งในแต่ละหมวดพิมพ์ก็ยังแยกย่อยไปอีกนับสิบพิมพ์ แต่ถ้าเรียกโดยรวมแล้วก็เรียกว่า “พระปิดตานั่งยองหลวงปู่บัววัดรวก” พระของหลวงปู่บัวหากนับอายุการสร้างจนถึงปัจจุบันก็ไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ปีเข้าไปแล้ว
พุทธคุณ ด้านคงกะพันและแคล้วคลาด มีประสบการณ์มากมายมาช้านาน
ประวัติหลวงปู่บัว
วัดบางหัวเสือ ได้สร้างขึ้นมาประมาณรัชสมัย รัชกาลที่๒ ประมาณปี พ.ศ.๒๓๗๐ เนื่องจากสันนิฐานได้ว่าหลวงพ่อบัว เป็นองค์ปฐม เป็นเจ้าอธิการองค์แรก และเป็นพระอุปัชฌาย์องค์แรก ซึ่งท่านเกิดประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๕๘ ซึ่งอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ขึ้นครองราชย์ใน วันที่ ๗ กันยายน ๒๓๕๒ ชื่อวัดเดิมตามหลักฐาน ชื่อวัดบางศีศะเสือ แล้วในรัชสมัย รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดให้มีการสังคยานา ปรับเปลี่ยนชื่อวัดต่างๆให้สอดคล้องกับ ภาษา สระ วรรณยุกต์ จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ วัด บางหัวเสือ แทนจนถึงปัจจุบัน
เจ้าอาวาสรูปที่ ๑ หลวงพ่อบัว (เกิดใน ร.๒-ร.๕) ตามประวัติเดิม สันนิษฐานว่า หลวงพ่อบัว ท่านเป็น น้องชาย หลวงปู่จีน วัดท่าราษเหนือ ฉะเชิงเทรา ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่จีน ทราบจากการเล่าสืบต่อกันมาจากผู้ที่เกิดทันได้พบหลวงปู่จีน สันนิษฐานว่าท่านเกิดในราวปี พ.ศ.๒๓๕๗ และเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาดในราวปี พ.ศ.๒๓๙๗ ท่านเป็นพระเกจิผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระและพุทธาคมเป็นพิเศษ รวมทั้งวิชาการแพทย์แผนโบราณ และมีเมตตาธรรมสูง ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านทั้งเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยและเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจต่างๆ จนเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเมืองแปดริ้วและใกล้เคียง ต่อมากิตติศัพท์ของท่านเริ่มขจรไกล มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านมรณภาพในราวปี พ.ศ.๒๔๔๐ สิริอายุ ๘๓ ปี
ท่านทั้ง ๒ ได้แยกกันธุดงค์ หลวงพ่อบัวมากับหลวงพ่ออ้นและได้มาจำวัดที่ วัดบางศีศะเสือ และได้รับอาราธนาเป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา จนถึงราวปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๘ หลวงพ่อพิน ได้เป็นเจ้าอธิการ และอุปัชฌาย์ในเวลาต่อมา หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือ บาญชีพระสงฆ์เล่ม ๑ วัดบางหัวเสือ ที่ได้คัดลอกในสมัยหลวงพ่ออยู่ โดยพระอาจารย์ คำ ได้บันทึกไว้ว่า ได้อุปสมบทหลวงพ่อพิน โดยมี
ท่านช้างวัดโปรดเกษเชฎฐาราม เป็น พระอุปัชฌาย์จารย์
หลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ(ฉะเชิงเทรา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลวงปู่บัว วัดบางศีศะเสือ(วัดบางหัวเสือ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
จึงสันนิษฐานว่าหลวงพ่อบัว อ่อนพรรษากว่า หลวงปู่จีน จึงได้ลงไว้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เพราะฉะนั้นท่านจึงต้องเกิด และ บวชหลังหลวงปู่จีน ซึ่งหลวงปู่จีนท่านได้มีประวัติว่า หลวงปู่จีนท่านเกิดในราวปี พ.ศ.๒๓๕๗ และมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ อายุราว ๘๓ ปี
อ้างอิงจากบทความในหนังสือ พระปิดตานั่งยองเมืองปากน้ำ โดย เก่ง ศ.ตระกูล
"เมื่อพระอธิการอ้น เจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่บัวถึงกาลมรณภาพ หลวงพ่อพินได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ของวัดบางหัวเสือ"และประวัติหลวงพ่อเที่ยงในตอนที่กล่าวว่า "เมื่อหลวงพ่อเที่ยงบวชได้พรรษา ๓ หลวงปู่บัวท่านก็ถึงกาลมรณภาพ ราว ปี พ.ศ. ๒๔๓๕”
สันนิษฐานว่า หลวงพ่อ บัว เกิดปีพ.ศ.๒๓๕๘ มรณะราวปีพ.ศ.๒๔๓๕ นับจาก พ.ศ.เกิด ท่านจะบวชราวปี ๒๓๗๘ และตามกฎแต่งตั้งเจ้าอาวาส ท่านต้องมีพรรษา๑๐ จึงเป็นเจ้าอาวาสและอุปัชฌาย์ได้ จึงเป็นไปได้ว่าท่านเดินทางมาเป็นเจ้าอาวาสในราวปีพ.ศ. ๒๓๘๘ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับช่วงที่หลวงปู่จีนได้เป็นเจ้าอธิการวัดลาดเหนือในราวปี พ.ศ.๒๓๙๗ และได้ติดต่อกันอยู่จนได้มาร่วมกัน อุปสมบทให้หลวงพ่อ พิน ที่วัดโปรดเกษเชฎฐาราม ในปี พ.ศ.๒๓๘๓ ซึ่งในปีนั้นหลวงพ่อบัว และ หลวงปู่จีน ยังไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์จึงไม่ได้บวชให้เอง สิริรวมอายุหลวงพ่อบัวตามประวัติ ท่านมีอายุในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๕๘-๒๔๓๕ ท่านจึงมีอายุอยู่ในราว ๗๗ ปี
เอกลักษณ์ที่โดดเด่น หลวงพ่อบัว ท่านมีรูปหล่อลงรักปิดทองอยู่แต่เดิมมานานแล้ว แต่ถ้าได้สัมผัส หรือ ลูบทองออกจากองค์ท่าน จะเห็นลวดลายจีวรลายดอกพิกุล เรียงอยู่อย่างสวยงาม พร้อมทั้งประคตเอวของท่านก็เป็นลวดลายเช่นกัน ซึ่งจีวรแบบประณีตเช่นนี้ใช้กันใน วังหลวง หรือ วัดหลวง อย่างแพร่หลายในต้นรัชกาล อย่างเช่น
เล่าเรื่อง"จีวรลายดอกพิกุล"
ในภาพคือ พระวินัยกิจการีเถร(ปั้น พรฺหมฺสโร) เจ้าอาวาสวัดรัชฎาธิษฐานวรวิหาร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ครองจีวรดอกพิกุล...
สำหรับความเป็นมาของจีวรลายดอกพิกุลนั้น ช่างต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ทำเลียนแบบผ้าฝรั่ง ทอเป็นดอกเล็กๆลายๆคล้ายดอกพิกุล ชาวบ้านจึงเห็นเป็นของแปลก ประณีต มีราคาสูงค่า ต่อมาผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้ตัดย้อมเป็นจีวรถวายพระเถระ ซึ่งจีวรลายดอกพิกุลนี้ สมเด็จพระสังฆราชสุก(ร.๑-ร.๔) พระองค์ท่านก็เคยใช้ เสียด้ายจีวรผืนนั้นได้ตัดออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ผู้เขียนเลยไม่นำมาลงในตอนนี้ สำหรับผ้าลายดอกพิกุลนั้น ถ้าถามว่าผิดวินัยไหม? ตอบว่า"ไม่ผิดครับ" แต่ถ้าเป็นดอกทองกวาว ถึงจะผิด..? แต่นั่น ก็เป็นเพียง"เรื่องเล่า"กันมาเท่านั้น แต่ก็ยังหาได้เคยพบพาน"ผ้าลายดอก"ของจริง ซึ่งเป็นปฐมกำเนิดของ"จีวรดอก"แต่อย่างไรเลย
จนกระทั่ง เมื่อครั้งที่ได้รับมอบ"ชายจีวร" ของ"สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร"ซึ่งเป็นพระบรมราชอุปัชฌายาจารย์แห่งรัชกาลที่ ๑- รัชกาลที่ ๔ และเจ้านายชั้นสูงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ "พุทธวงศ์ จึงได้แจ้งใจสิ้นเชิงทุกประการ.......
จากบันทึกประวัติศาสตร์ข้างต้นเป็นหลักฐานสำคัญ ว่าท่านมาจากวัดหลวง หรืออาจเป็นผู้ที่มียศฐานบรรดาศักดิ์ในพระนคร จึงได้รับผ้าจีวรลายดอกพิกุลนี้ติดตัวมาจนได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางหัวเสือ ถือเป็นมงคลยิ่งที่ ได้เห็น ได้สัมผัส ได้รับรู้ ได้พบผู้มีบุญญาธิการ เป็นองค์ปฐมเจ้าอธิการ ในอาวาสวัดบางหัวเสือ.
วัตถุมงคล ท่านได้สร้างพระปิดตามหาอุดไว้มากมายหลายรุ่น และถ่ายทอดวิชาพุทธคมต่างๆให้แก่ หลวงพ่อพิน ศิษย์เอก และหลวงพ่ออยู่ หลวงพ่อเที่ยง ตามลำดับ
(ขอขอบคุณศิษย์สายตรง)
ราคาปัจจุบัน
30,000
จำนวนผู้เข้าชม
8835 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
phermsak
ชื่อร้าน
Aom Donjedee อ้อมดอนเจดีย์ , คุ้มริมชะเมา
URL
http://www.phermsak.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0952594194
ID LINE
อ้อม ดอนเจดีย์
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 172-0-503xx-x
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี